วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17


วันศุกร์ที่  28  เมษายน  2560

เนื้อหาที่ได้เรียน
    บทบาทของครู 
        •   ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•   ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•   จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
•   ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
                             1.ทักษะทางสังคม
                •  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
                •  การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข                      2.ทักษะภาษาทักษะพื้นฐานทางภาษา
                •  ทักษะการรับรู้ภาษา•การแสดงออกทางภาษา
                •  การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 
                            3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
                เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
                 •   ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
                 •   ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ  
                 •   ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
                 •   ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
                 •   เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 
                            4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
                •  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
                •  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
                •  เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
                •  พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
                •  อยากสำรวจ อยากทดลอง
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
พูดในทางที่ดี
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก   

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       นำไปใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องให้เราเมื่อเราต้องเป็นผู้สอน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา และสนใจที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ย้อนกลับไปสอนเนื้อหาในเรื่องที่ยังค้างคา ทำให้เราได้เรียนต่อเนื่อง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันศุกร์ที่  21  เมษายน  2560
" อบรมผู้กำกับลูกเสือ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


วันศุกร์ที่  14  เมษายน  2560

" หยุดวันสงกรานต์ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


วันศุกร์ที่ 7  เมษายน  2560

" ศึกษาด้วยตนเอง  เนื่องจากอาจารย์ไปราชการ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


วันศุกร์ที่  31  มีนาคม  2560

" ศึกษาด้วยตนเอง เนื่องจากอาจารย์ลากิจ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่  24  มีนาคม  2560

เนื้อหาที่ได้เรียน
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม 
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
               •  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
               •  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
               •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
               •  เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
               •  เกิดผลดีในระยะยาว
               •  เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
               •  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
               •  โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
               •  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  (Activity of Daily Living Training)
               •  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
               •  การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story) 
3. การบำบัดทางเลือก
               •  การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
               •  ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
               •  ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
               •  การฝังเข็ม (Acupuncture)
               •  การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน  (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
•  การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
•  โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
•  เครื่องโอภา (Communication Devices)
•  โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System  (PECS)

บทบาทของครู 
        •   ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•   ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•   จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
•   ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 
  

การนำไปประยุกต์ใช้
นำ PECS ไปใช้กับเด็กที่ไม่ค่อยพูด เพื่อให้เขาเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับเรา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึก
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ตั้งใจสอน สรุปเนื้อหามาให้กระชับเข้าใจง่าย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่  17  มีนาคม  2560

เนื้อหาที่ได้เรียน

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
      รูปแบบการจัดการศึกษา
             •  การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
             •  การศึกษาพิเศษ (Special Education)
             •  การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
             •  การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
      ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
             •  การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป  
             •  มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
             •  ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
             •  ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
      การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
             •  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
             •  เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
             •  เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
      การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
             •  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
             •  เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
             •  มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
             •  เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
       ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
             •  การศึกษาสำหรับทุกคน 
             •  รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา  
             •  จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
       ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
             •  ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
             •  “สอนได้”
             •  เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
        บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
                      ครูไม่ควรวินิจฉัย
                      ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
                      ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
        ครูทำอะไรบ้าง
             •  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
             •  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
             •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
             •  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
        การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
             •  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
             •  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
         การตัดสินใจ
             •  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
             •   พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้
              เนื้อหาในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับห้องเรียนของเราเมื่อเป็นการเรียนแบบเรียนรวม  เป็นแนวทางในการประพฤติที่เหมาะสมของครูผู้สอน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีกิจกรรมคั่นเวลามาให้นักศึกษาทำเพื่อกระตุ้นการเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


วันศุกร์ที่  10  มีนาคม  2560

เนื้อหาที่ได้รับ
 8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
          ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                     •  ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
                     •  ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
                     •  ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 
          การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
                     ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
                               •  ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
                               •  ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
                               •  กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
                               •  เอะอะและหยาบคาย
                               •  หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
                               •  ใช้สารเสพติด
                               •  หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
           ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
                     •  จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
                     •  ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
                     •  งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
           เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders) ADHD 
เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช   มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
                                                       •  Inattentiveness
                                                       •  Hyperactivity 
                                                       •  Impulsiveness
            สาเหตุ
              •  ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 

             เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
              •  ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว 

             อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
              •  พันธุกรรม
              •  สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
              •  สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป 

หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงาน
ของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
              •  อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
              •  ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
              •  ดูดนิ้ว กัดเล็บ
              •  หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
              •  เรียกร้องความสนใจ
              •  อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
              •  ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
              •  ฝันกลางวัน
              •  พูดเพ้อเจ้อ

9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
•  เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
•  เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
•  เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
•  เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด 

ภาพการสาธิตตัวอย่าง


การประเมินผล
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกทึก 
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายเข้าใจง่ายและทำพ้อยต์ให้อ่านง่ายมีเนื้อหาที่สำคัญ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม  2560

" วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนค่ะ  เนื่องจากไปหาหมอ "

เนื้อหาที่เรียน
              ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้   (Children with Learning Disabilities)
             1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
       •  หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ 
       •  อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย 
       •  ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
             2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
       •  เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
       •  เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
       •  เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
             3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
       •  ตัวเลขผิดลำดับ
       •  ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
       •  ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
       •  แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
     7. ออทิสติก (Autistic)
                                                 "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
              ลักษณะของเด็กออทิสติก
         •  อยู่ในโลกของตนเอง
         •  ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
         •  ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
         •  ไม่ยอมพูด
         •  เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
               ออทิสติกเทียม
         •  ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
         •  ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
         •  ดูการ์ตูนในทีวี
               Autistic Savant
         •  กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
                         จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
         •  กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)
                                 จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


วันศุกร์ที่  24  กุมภาพันธ์  2560  

"  สอบกลางภาค  "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


วันศุกร์ที่  17  กุมภาพันธ์  2560

" ศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา "




                 วันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา ซึ่งห้องที่ได้เข้าไปดูในวันนี้คือห้องคุณครูนก  ซึ่งกำลังมีการทำกิจกรรมคุ๊กกิ้งผักบุ้งทอดจากโครงการเรื่องผักบุ้ง  และกิจกรรมศิลปะระบายสีกระถางผักบุ้งของตนเอง  เด็กๆและอาจารย์ที่นี้น่ารักมากค่ะ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6



วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560

" เข้าร่วมกิจกรรมประกวดมารยาทไทย "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


วันศุกร์ที่  3  กุมภาพันธ์  2560

"  ศึกษาด้วยตนเองเนื่องจากอาจารย์ติดราชการ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


วันศุกร์ที่  27  มกราคม  2560

เนื้อหาที่ได้รับ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
            4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด  
                       หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
           1. วามบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
•   เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
•   เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
           2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
           3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
                 ความบกพร่องทางภาษา
                      หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
          1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
          2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia หรือ aphasia
                 ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
           •   ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง 
           •   ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน 
           •   ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 
           •   หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก 
           •   ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ 
           •   หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา 
           •   มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก 
           •   ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
                                     5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
 (Children with Physical and Health Impairments)
                 โรคลมชัก (Epilepsy)
      1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
            •  อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
            •  มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
            •  เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
            •  เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
      2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
            •  เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู
      3.อาการชักแบบ Partial Complex
            •  มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
            •  เหม่อนิ่ง
            •  เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
            •  หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก 
       4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
            •  เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
       5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
           •  เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 
                   ซี.พี(Cerebral Palsy)
       1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
          •  spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
          •  spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
          •  spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
          •  spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
        2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
          •  athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
          •  ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
        3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
          กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)  แขนลีบ / ขาลีบ / เคลื่อนไหวช้ามากๆ
          โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) เท้าปุก / อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
                     โปลิโอ (Poliomyelitis)
           •  มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
           •  ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
นอกเหนือจากนี้ยังมี
         •  โรคกระดูกอ่อน  (Osteogenesis Imperfeta)
         •  โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)
         •  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
         •  โรคระบบทางเดินหายใจ
         •  โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
         •  โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
         •  โรคมะเร็ง (Cancer) 
         •  เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) 
         •  แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
           •  มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
           •  ท่าเดินคล้ายกรรไกร
           •  เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
           •  ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
           •  มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
           •  หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
           •  หกล้มบ่อย ๆ
           •  หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            นำความรู้ที่ได้ไปใช้การในการเรียนต่อหรือต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการศึกษาเด็กพิเศษประเภทนี้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์นำภาพมาให้ดูทำให้เห็นภาพของโรคและอาการมากขึ้น