วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17


วันศุกร์ที่  28  เมษายน  2560

เนื้อหาที่ได้เรียน
    บทบาทของครู 
        •   ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•   ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•   จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
•   ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
                             1.ทักษะทางสังคม
                •  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
                •  การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข                      2.ทักษะภาษาทักษะพื้นฐานทางภาษา
                •  ทักษะการรับรู้ภาษา•การแสดงออกทางภาษา
                •  การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 
                            3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
                เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
                 •   ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
                 •   ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ  
                 •   ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
                 •   ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
                 •   เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 
                            4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
                •  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
                •  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
                •  เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
                •  พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
                •  อยากสำรวจ อยากทดลอง
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
พูดในทางที่ดี
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก   

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       นำไปใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องให้เราเมื่อเราต้องเป็นผู้สอน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา และสนใจที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ย้อนกลับไปสอนเนื้อหาในเรื่องที่ยังค้างคา ทำให้เราได้เรียนต่อเนื่อง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันศุกร์ที่  21  เมษายน  2560
" อบรมผู้กำกับลูกเสือ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


วันศุกร์ที่  14  เมษายน  2560

" หยุดวันสงกรานต์ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


วันศุกร์ที่ 7  เมษายน  2560

" ศึกษาด้วยตนเอง  เนื่องจากอาจารย์ไปราชการ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


วันศุกร์ที่  31  มีนาคม  2560

" ศึกษาด้วยตนเอง เนื่องจากอาจารย์ลากิจ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่  24  มีนาคม  2560

เนื้อหาที่ได้เรียน
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม 
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
               •  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
               •  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
               •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
               •  เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
               •  เกิดผลดีในระยะยาว
               •  เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
               •  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
               •  โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
               •  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  (Activity of Daily Living Training)
               •  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
               •  การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story) 
3. การบำบัดทางเลือก
               •  การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
               •  ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
               •  ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
               •  การฝังเข็ม (Acupuncture)
               •  การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน  (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
•  การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
•  โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
•  เครื่องโอภา (Communication Devices)
•  โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System  (PECS)

บทบาทของครู 
        •   ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•   ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•   จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
•   ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 
  

การนำไปประยุกต์ใช้
นำ PECS ไปใช้กับเด็กที่ไม่ค่อยพูด เพื่อให้เขาเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับเรา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึก
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ตั้งใจสอน สรุปเนื้อหามาให้กระชับเข้าใจง่าย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่  17  มีนาคม  2560

เนื้อหาที่ได้เรียน

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
      รูปแบบการจัดการศึกษา
             •  การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
             •  การศึกษาพิเศษ (Special Education)
             •  การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
             •  การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
      ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
             •  การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป  
             •  มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
             •  ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
             •  ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
      การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
             •  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
             •  เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
             •  เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
      การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
             •  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
             •  เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
             •  มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
             •  เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
       ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
             •  การศึกษาสำหรับทุกคน 
             •  รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา  
             •  จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
       ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
             •  ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
             •  “สอนได้”
             •  เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
        บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
                      ครูไม่ควรวินิจฉัย
                      ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
                      ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
        ครูทำอะไรบ้าง
             •  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
             •  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
             •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
             •  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
        การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
             •  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
             •  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
         การตัดสินใจ
             •  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
             •   พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้
              เนื้อหาในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับห้องเรียนของเราเมื่อเป็นการเรียนแบบเรียนรวม  เป็นแนวทางในการประพฤติที่เหมาะสมของครูผู้สอน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีกิจกรรมคั่นเวลามาให้นักศึกษาทำเพื่อกระตุ้นการเรียน